6 ข้อควรรู้ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
หลายประเทศทั่วโลกทั้งในแถบยุโรป สหรัฐอเมริกาและฝั่งเอเชียอย่างจีนและญี่ปุ่น ต่างได้หันมาสนับสนุนและให้ข้อมูลและข้อควรรู้ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ให้ประชาชนเพื่อลดมลภาวะ ลดการปล่อยคาร์บอนเข้าสู่บรรยากาศ เพราะรถยนต์สันดาปที่ใช้น้ำมันเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ก่อให้เกิด PM 2.5 รัฐบาลหลายประเทศจึงได้ออกนโยบายส่งเสริมประชาชนให้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ด้วยมาตรการจูงใจต่างๆ เช่น ประเทศนอร์เวย์ ยกเว้นภาษีจดทะเบียนและภาษีมูลค่าเพิ่ม มีที่ชาร์จไฟสาธารณะฟรี! ไม่เก็บค่าผ่านทาง อนุญาตให้รถ EV วิ่งในเลนของรถสาธารณะได้ รวมทั้งให้จอดรถฟรีในพื้นที่สาธารณะอีกด้วย ส่วนผู้ประกอบการที่ติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้ารัฐบาลก็จะให้เงินอุดหนุนและในปี 2022 รัฐบาทตั้งเป้าให้มียอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 80% ของยอดขายรถทั้งหมดในประเทศและยังมีเป้าหมายยกเลิกการจำหน่ายรถยนต์สันดาปภายในปี 2025 อีกด้วย
หัวข้อ
ในขณะที่เยอรมนีตั้งเป้าเป็นผู้นำการผลิตและใช้รถยนต์ไฟฟ้าของโลก โดยมีนโยบาย เช่น งดเก็บภาษีรถยนต์ไฟฟ้า 5-10 ปี ให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ที่ซื้อรถ EV สูงสุด 5,000 ยูโร ไม่เสียค่าที่จอดรถ มีที่จอดรถให้เฉพาะ แถมให้สิทธิใช้เลนพิเศษในการขับรถและการเข้าพื้นที่ที่จำกัดอีกด้วย เรียกได้ว่าภาครัฐเข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง ในส่วนของไทยนับเป็นช่วงเริ่มต้นที่ประชาชนเริ่มหันมาสนใจและทดลองใช้รถยนต์ไฟฟ้า จากยอดจองรถยนต์ในงาน Motor Expo เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2021 ปรากฎว่ายอดจองรวมทั้งสิ้นประมาณ 31,000 คัน โดยมียอดจองรถ EV ถึง 7,000 คัน คิดเป็นตัวเลขประมาณ 22% ของคนที่ตัดสินใจจะซื้อรถยนต์ใหม่ นั่นแสดงให้เห็นถึงสัญญาณการเปิดรับรถยนต์ EV ในบ้านเรามากขึ้น และถ้าหากคุณกำลังจดๆ จ้องๆ อยากจะซื้อรถยนต์ใหม่เป็นรถไฟฟ้า EV มาใช้นั้น จะต้องรู้ข้อควรรู้ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า พิจารณาปัจจัย และเตรียมความพร้อมในเรื่องใดบ้าง คุณสามารถอ่านได้จากบทความนี้
6 ข้อควรรู้ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
1. ดูความจุของแบตเตอรี่กับระยะทางที่วิ่งได้ไกลที่สุด
รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าแบบ BEV (Battery Electric Vehicle) มีความจุของแบตเตอรี่อยู่ระหว่าง 60-90 กิโลวัตต์ (kW) สามารถวิ่งได้ระยะทางที่หลายแห่งกว่า 338-473 กิโลเมตร ต่อการชาร์จแบตเตอรี่ครั้งเดียว โดยระยะทางที่วิ่งได้นั้นจะขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่ แต่จะสรุปได้ว่าถ้าต้องการรถยนต์ที่วิ่งไกลได้มากขึ้นก็ควรเลือกรุ่นที่มีความจุของแบตเตอรีมากขึ้น แต่ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายสำหรับรถที่มีความจุแบตเตอรี่สูงก็จะมีราคาที่สูงขึ้นด้วย
2. ดูระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่
รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถ EV แต่ละรุ่นและแต่ละยี่ห้อมีระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรีเต็มที่ที่แตกต่างกันตามขนาดและความจุของแบตเตอรี เพื่อตัวอย่าง, การชาร์จแบตเตอรีแบบมาตรฐานที่ใช้ไฟจากบ้านเป็นกระแสสลับ (AC) จะใช้เวลาประมาณ 12-16 ชั่วโมง ส่วนการชาร์จแบบรวดเร็วจากตู้ชาร์จไฟฟ้า EV Charger จะใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง และการชาร์จแบบด่วนที่สถานีชาร์จนอกบ้านที่ใช้ไฟกระแสตรง (DC Charging) จะใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที
3. ใช้รถยนต์ไฟฟ้าต้องเตรียมที่ชาร์จไฟฟ้าที่บ้าน
เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานของไทยในเรื่องสถานีชาร์จยังไม่ครอบคลุม หรือหากมีสถานีชาร์จอยู่ใกล้ แต่อาจไม่มีหัวชาร์จที่ใช้ได้กับรถไฟฟ้าที่ใช้เพราะมาตรฐานหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละยี่ห้อแตกต่างกัน เพื่อความสะดวกอาจติดตั้งที่ชาร์จไฟที่บ้าน แต่จะต้องเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้มีขนาดใหญ่ขึ้นไม่น้อยกว่า 30 แอมป์ (A) พร้อมเปลี่ยนสายเมนไฟฟ้าเข้าบ้านเป็น 25 ตร.มม. และเปลี่ยนลูกเซอร์กิต (MCB) ให้มีขนาด 100 แอมป์ (A) เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น และต้องเพิ่ม Circuit Breaker อีก 1 ช่องในตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) เพื่อแยกการใช้งานระหว่างเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ในบ้าน รวมถึงต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วเพื่อช่วยตัดไฟฟ้าอัตโนมัติ กรณีหากเกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟฟ้าดูด นอกจากนี้ต้องเตรียมเต้ารับ (EV Socket) เพื่อเสียบชาร์จรถให้สอดคล้องกับปลั๊กของรถยนต์ในแต่ละรุ่น ทั้งนี้จุดชาร์จไฟรถ EV ในบ้าน ต้องเดินวงจรสายไฟแยกออกมาต่างหากเพื่อความปลอดภัย และต้องได้รับการติดตั้งจากช่างไฟฟ้าที่ชำนาญการเท่านั้น
4. ดูค่าเชื้อเพลิงที่ต้องจ่าย
ค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันและค่าชาร์จของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เป็นสิ่งที่น่าสนใจที่นำมาเปรียบเทียบ หากเทียบเพียงค่าน้ำมันกับค่าชาร์จไฟฟ้า จะพบว่า ค่าเติมน้ำมันขณะที่อยู่ที่ 1.50-3 บาทต่อกิโลเมตร ส่วนค่าชาร์จไฟฟ้าของรถ EV มีค่าเฉลี่ยที่ 0.26-0.50 บาทต่อกิโลเมตร ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารถ EV ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่ารถที่ใช้น้ำมันหลายเท่า
5. ดูเรื่องการซ่อมบำรุง
เมื่อเปรียบเทียบค่าซ่อมบำรุงระหว่างรถยนต์ที่ใช้น้ำมันกับรถยนต์ไฟฟ้า จะพบว่ารถยนต์ไฟฟ้ามีข้อได้เปรียบหลายประการที่ทำให้ค่าซ่อมบำรุงและค่าดูแลรักษาต่ำกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน
เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าไม่มีเครื่องยนต์ที่ต้องใช้น้ำมัน จึงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง นอกจากนี้ รถยนต์ไฟฟ้ายังมีชิ้นส่วนน้อยกว่า ทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาจุกจิกและค่าซ่อมบำรุงเฉลี่ยต่ำกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันถึง 50%
ในทางกลับกัน รถยนต์ที่ใช้น้ำมันต้องการการบำรุงรักษามากกว่า เนื่องจากเครื่องยนต์ประกอบด้วยชิ้นส่วนมากมายที่ต้องเปลี่ยนเมื่อเสื่อมสภาพ รวมถึงการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกๆ 6 เดือนหรือทุกๆ 5,000-10,000 กิโลเมตร
อย่างไรก็ตาม หากรถยนต์ไฟฟ้าเกิดเสียหาย ค่าอะไหล่อาจแพงกว่า เช่น ค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ของรถ BYD อาจสูงถึง 162,000-220,000 บาท แม้ว่าผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะไม่ต้องคอยนำรถเข้าศูนย์ซ่อมบ่อยๆ แต่หากต้องซ่อมขึ้นมา ค่าใช้จ่ายอาจสูงมาก
นอกจากนี้ รถยนต์ที่ใช้น้ำมันสามารถหาศูนย์หรือเข้าอู่ซ่อมรถทั่วไปได้ แต่รถยนต์ไฟฟ้าต้องเข้าศูนย์บริการเฉพาะเนื่องจากเทคโนโลยียังไม่แพร่หลายในวงกว้าง
ดังนั้น แม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะมีข้อได้เปรียบในเรื่องการบำรุงรักษาที่ง่ายและประหยัดกว่า แต่ค่าใช้จ่ายในการซ่อมเมื่อเกิดปัญหาก็อาจสูงมาก ดังนั้น ผู้ใช้ควรพิจารณาทั้งข้อดีและข้อเสียก่อนตัดสินใจเลือกใช้รถยนต์ประเภทใดประเภทหนึ่ง
6. ดูแบรนด์ที่น่าเชื่อถือและมีบริการหลังการขาย
เนื่องจากรถไฟฟ้าเพิ่งเข้ามาในไทยไม่นาน การพิจารณาเลือกแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าที่น่าเชื่อถือและได้มาตรฐานการผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งต้องมีศูนย์บริการหลังจากขายที่ได้มาตรฐาน สามารถช่วยเหลือเวลารถเกิดมีปัญหา เพราะไม่สามารถซ่อมรถยนต์ไฟฟ้านอกศูนย์บริการได้
สรุป
ก่อนตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV สิ่งสำคัญคือต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด โดยเฉพาะเรื่องอายุการใช้งานแบตเตอรี่ ระยะทางที่วิ่งได้ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ และค่าบำรุงรักษา รวมถึงบริการหลังการขาย การทำความเข้าใจในจุดเหล่านี้จะช่วยให้คุณมั่นใจและตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างไร้กังวล
หากคุณสนใจรถยนต์ไฟฟ้า ลองมาทดลองขับกับ BD Auto Group เพื่อสัมผัสประสบการณ์จริงและทำให้การตัดสินใจของคุณเป็นเรื่องง่าย!
ติดต่อเรา
- ที่อยู่ : 607 ถ.เพชรเกษม ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา (สาขาหาดใหญ่)
- Facebook : BYD BD Auto Group ตัวแทนจำหน่ายบีวายดีรายใหญ่สุดในภาคใต้
- LINE : @bydbdsongkhla
- สาขาของ BYD BD Auto Group
- เบอร์โทรติดต่อ : 074 805 656 (สาขาหาดใหญ่)
- เว็บไซต์ : www.bydbdautogroup.com