BYD Blade Battery จุดเปลี่ยนวงการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า สุดยอดนวัตกรรมเปลี่ยนโลก

BYD Blade Battery จุดเปลี่ยนวงการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า สุดยอดนวัตกรรมเปลี่ยนโลก
BYD BD Auto Group

BYD Blade Battery แบตเตอรี่ BYD เป็นนวัตกรรมทางด้านแบตเตอรี่ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท BYD Auto Co., Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทจีนที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฮบริด แบตเตอรี่ชนิดนี้มีชื่อเสียงในวงการเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากมีลักษณะการออกแบบที่พิเศษและความปลอดภัยที่สูง ทำให้เป็นที่นิยมในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก

BYD Blade Battery มีลักษณะที่เฉพาะตัวคือการจัดเรียงเซลล์แบตเตอรี่ในลักษณะแถวตรง (blade-like) ซึ่งช่วยเพิ่มพื้นที่สัมผัสระหว่างเซลล์และเส้นทางการพาไฟฟ้า ทำให้การถ่ายโอนความร้อนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์นี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในกรณีเกิดการชนของรถ ทั้งนี้ BYD Blade Battery ยังได้รับการนำมาใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าของ BYD อย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นเทคโนโลยีที่มีผลต่ออุตสาหกรรมในด้านมาตรฐานรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก

ทำความรู้จัก BYD Blade Battery

BYD นั้นเคยเข้ามาทำตลาดในไทย โดยครั้งแรกเป็นการร่วมมือกับ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ในครั้งนั้นเป็นการนำรถรุ่น E6 และรถบัส K9 เข้ามาในตลาดไทยแล้วก็ค่อยๆ เงียบหายไป และครั้งต่อมา BYD ได้ร่วมมือกันระหว่าง บริษัท เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ร่วมทุนกับ บริษัท ชาริช โฮลดิ้ง จำกัด นำ E6 มาจำหน่ายเป็นรถ Taxi อยู่ช่วงหนึ่งแล้วก็เงียบหายไปอีกครั้ง

จนล่าสุดทาง BYD ก็กลับมาเป็นแบรนด์ที่ได้รับความสนใจอีกครั้ง เมื่อมีการแถลงข่าวเปิดตัว Rêver Automotive ให้เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ภายใต้การนำของ ประธานวงศ์ พรประภา และ ประธานพร พรประภา ซึ่งการกลับมาในครั้งนี้ทาง Rêver Automotive ได้ตั้งเป้าที่จะขับเคลื่อนประเทศสู่ NEV Nation (รถยนต์พลังงานใหม่ หรือ New-Energy Vehicle) ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงความมุ่งมั่นที่จะผลักดัน Net Zero Emission ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

BYD Blade Battery จุดเปลี่ยนวงการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า สุดยอดนวัตกรรมเปลี่ยนโลก

สำหรับแบรนด์รถยนต์ BYD ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีน โดยชื่อ BYD มาจากการนำคำว่า Build Your Dreams มาย่อให้เหลือเพียง “BYD” โดยแรกเริ่มนั้น BYD เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ แบตเตอรี่ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ต่อมาก็เริ่มเข้าสู่ธุรกิจรถยนต์ ที่ครอบคลุมไปถึงการผลิตรถยนต์, รถบัส, รถบรรทุก และรถ Forklift รวมถึงการนำความรู้จากอุตสาหกรรมแบตเตอรี่มาผนวกเข้ากับรถยนต์หลังจากรัฐบาลจีนออกนโยบายผลักดันรถยนต์ไฟฟ้า หลังจากนั้นไม่นาน BYD ก็ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด จนมาถึงรถยนต์ไฟฟ้าในที่สุด

BYD Blade Battery จุดเปลี่ยนวงการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า สุดยอดนวัตกรรมเปลี่ยนโลก

หลังจากนั้น BYD ในต่างประเทศกลับมาเป็นข่าวระดับโลกอีกครั้งเมื่อมีข่าวลือว่า Tesla บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจากอเมริกา ต้องการให้ผลิตแบตเตอรี่ให้ เนื่องจาก BYD ได้คิดค้นแบตเตอรี่แบบใหม่สำเร็จในชื่อ Blade Battery ที่ใช้ Lithium Iron Phosphate (LFP) ซึ่งผ่านการทดสอบมาตรฐานด้วยวิธี Nail penetration test โดยจะใช้ตะปูเจาะลงกลางเซลล์ของแบตเตอรี่ไปจนทะลุถึงอีกด้านหนึ่ง ซึ่งจะทำเกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในเซลล์ของแบตเตอรี่ จากการทดสอบนี้ Blade Battery ของ BYD แสดงให้เห็นว่ามีมาตรฐานความปลอดภัยสูงกว่าแบตเตอรี่ Lithium Nickel Manganese Cobalt Oxide และ Lithium Nickel Cobalt Aluminium Oxide 

BYD Blade Battery จุดเปลี่ยนวงการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า สุดยอดนวัตกรรมเปลี่ยนโลก

ด้วยเหตุนี้ Blade Battery ของ BYD จึงมีความปลอดภัยสูงในกรณีที่แบตเตอรี่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง อีกทั้งการออกแบบก็ดูคล้ายกับใบมีด ทำให้มีความบาง และรูปทรงที่ยาวกว่าแบตเตอรี่ทั่วไป ทำให้แบตเตอรี่ของ BYD มีพื้นผิวในการระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็วกว่าเซลล์แบตเตอรี่แบบก้อนสี่เหลี่ยม เมื่อเกิดเหตุลัดวงจรภายในเซลล์แบตเตอรี่จะไม่กระทบต่อเซลส์อื่นๆ ทำให้ไม่เกิดการลัดวงจรไฟฟ้าแบบต่อเนื่อง อีกทั้ง Blade Battery ถูกออกแบบในลักษณะ cell-to-pack technology (CTP) โดยแต่ละเซลล์สามารถูกแพ็คได้โดยตรง โดยไม่ต้องแพ็คเซลล์ลงโมดูลก่อน ทำให้สามารถมีพื้นที่ในการเพิ่มจำนวนเซลล์แบตเตอรี่ได้มากขึ้น

นอกจากนี้ Blade Battery ยังสามารถใช้เป็นวัสดุเสริมโครงสร้างเพื่อความแข็งแกร่งให้กับตัวรถได้อีกด้วย จากจุดเด่นที่กล่าวมา แสดงให้เห็นถึงมาตรฐานความปลอดภัยของ Blade Battery จากแบนด์ BYD

ข้อจำกัดเดิมของรถยนต์ไฟฟ้า

ข้อจำกัดเดิมที่ทำให้ยังมีการใช้งานไม่แพร่หลายในอดีตนั้น ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้าทั้งนั้น ที่ไม่ว่าจะเป็นระยะทางการวิ่งต่อการชาร์จหนึ่งครั้งที่น้อยเกินไป (เฉลี่ยประมาณ 250-400 กิโลเมตร/การชาร์จไฟหนึ่งครั้ง) จำนวนสถานีชาร์จที่ไม่ทั่วถึงและยังไม่คลอบคลุมทั่วประเทศ ระยะเวลาในการชาร์จพลังงานหนึ่งครั้งที่ใช้เวลานานกว่าการเติมน้ำมันปกติมาก ข้อสงสัยในด้านความปลอดภัยของแบตเตอรี่ เมื่อเกิดการชนหรือแรงกระแทกอย่างรุนแรง

แต่แล้วเมื่อปี ค.ศ.2021 ที่เพิ่งผ่านมาไม่นาน โลกได้รู้จักกับคำว่า “Blade Battery” ที่แม้แต่ Elon musk ยังให้ความสนใจที่จะนำแบตเตอรี่ชนิดนี้ไปใช้ในรถยนต์ Tesla ของเค้าด้วยเช่นกัน ซึ่งจุดเด่นที่ทำให้ “Blade Battery” ลิขสิทธิ์เฉพาะของ BYD เป็นที่หมายปองของเหล่าผู้ผลิตในวงการ EV

จุดเด่นของ BYD Blade Battery

BYD Blade Battery มีจุดเด่น 2 ปัจจัยหลักๆ ที่เหล่าผู้ผลิตในวงการ EV มุ่งหมาย ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ BYD เท่านั้น คือ

1. ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า เกิดความร้อนต่ำกว่า แต่เก็บพลังงานได้สูงกว่า

Blade Battery ใช้ Lithium Iron Phosphate (LFP) ซึ่งผ่านการทดสอบมาตรฐานด้วยวิธี Nail penetration test โดยจะใช้ตะปูเจาะลงกลางเซลล์ของแบตเตอรี่ไปจนทะลุถึงอีกด้านหนึ่ง ซึ่งจะทำเกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในเซลล์ของแบตเตอรี่ จาการทดสอบนี้ Blade Battery ของ BYD แสดงให้เห็นว่ามีมาตรฐานความปลอดภัยสูงกว่าแบตเตอรี่ Lithium Nickel Manganese Cobalt Oxide และ Lithium Nickel Cobalt Aluminium Oxide และยังมีต้นทุนที่ต่ำ เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตแบตเตอรี่แบบ NMC (Lithium Nickel Manganese Cobalt Oxide) ที่อ้างอิงกับราคาแร่นิกเกิลที่เป็นต้นทางของแบตเตอรี่แบบ NMC

2. Safety Measurement ปลอดภัยกว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

ตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยแล้ว แบตเตอรี่ชนิด LFP (Lithium Iron Phosphate) ใน BYD Blade Battery หรือ เบลดแบตเตอรี่นั้น จะมีมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงกว่า NMC และ NCA เนื่องด้วยมี Decomposition temperature ที่สูงกว่า (ประมาณ 270 องศาเซลเซียส) ในขณะที่แบตเตอรี่ชนิดอื่น อยู่ที่ประมาณ 210 และ 150 องศาเซลเซียส ตามลำดับ รวมถึงเมื่อได้รับความเสียหายแล้ว จะปลดปล่อยความร้อนออกมาที่น้อยกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่น

ซึ่งเมื่อนวัตกรรม Blade Battery นี้มีข้อพิสูจน์ถึงคุณภาพ จบทุกปัญหา ทั้งเรื่องต้นทุน ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย จึงมีความนิยมการใช้งานแพร่หลายขึ้น โดยสถานีชาร์จก็มากขึ้นด้วยเป็นเงาตามตัว ยิ่งในประเทศไทยแล้ว จะเห็นได้ว่ามีการตื่นตัวเรื่องรถ EV และการสร้างสถานีชาร์จเป็นจำนวนมาก

จึงมั่นใจได้ว่า

จุดเปลี่ยนแห่งวงการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถ EV

อย่างที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันรัฐบาลในหลายๆ ประเทศ ได้ให้การสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศมากขึ้น เช่น การออกนโยบายการลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าหรือการให้เงินอุดหนุนสำหรับการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงให้ประชาชนในประเทศหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น เนื่องด้วยทางรัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความต้องการที่จะปรับลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงภายในประเทศ รวมถึงความต้องการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปล่อยมลพิษรถยนต์เครื่องยนต์แบบสันดาป

อย่างไรก็ตามการที่ประชาชนในประเทศหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้นนั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายเลย เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้ายังมีข้อจำกัดอยู่หลายด้าน เช่น

  • จำนวนระยะทางการวิ่งต่อการชาร์จหนึ่งครั้งที่น้อยเกินไป (เฉลี่ยประมาณ 250-400 กิโลเมตร/การชาร์จไฟหนึ่งครั้ง)
  • จำนวนสถานีชาร์จที่ยังไม่ทั่วถึงและไม่คลอบคลุมทั่วประเทศ หรือระยะเวลาในการชาร์จพลังงานหนึ่งครั้งที่ใช้เวลานานกว่าการเติมน้ำมันปกติ
  • ข้อสงสัยในด้านความปลอดภัยของแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้าเมื่อเกิดการชนหรือแรงกระแทกอย่างรุนแรง

จะเห็นได้ว่าปัญหาส่วนใหญ่ที่กล่าวนั้นมีความเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง และในปีที่ผ่านมาบริษัทผลิตแบตเตอรี่และรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำสัญชาติจีนอย่าง BYD ได้ประกาศเปิดตัวแบตเตอรี่รถยนต์ชนิดใหม่ โดยมีชื่อเรียกว่า “Blade Battery” ซึ่งกำลังเป็นที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในปี ค.ศ.2021-2022 นี้ ว่าแบตเตอรี่ชนิดนี้จะเปลี่ยนมาตรฐานวงการรถยนต์ไฟฟ้าอย่างก้าวกระโดด หรือเรียกว่า “Game changer” จนกระทั่ง Elon musk มีความสนใจที่จะนำแบตเตอรี่ชนิดนี้ไปใช้ในรถยนต์ Tesla

BYD home 3

BYD’s Blade Battery รุ่นใหม่นี้ดีกว่าแบตเตอรี่แบบ LFP เดิมอย่างไร? และแบตเตอรี่ชนิดนี้สามารถสร้างจุดเปลี่ยนอะไรบ้างต่อวงการรถยนต์ไฟฟ้า

1. Safety Measurement ที่เหนือกว่า Lithium-ion battery ทั่วไป

การที่เราจะเข้าใจเรื่องนี้ได้อย่างถ่องแท้ เราต้องทำความรู้จักกับชนิดของแบตเตอรี่รถยนต์ฟ้าและสารเคมีที่อยู่ในแบตเตอรี่แต่ละชนิดด้วยกัน หากเราจะแบ่งชนิดของแบตเตอรี่รถยนต์ในท้องตลาดจากชนิดของสารเคมีที่อยู่ภายในนั้น เราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกันคือ Lithium Nickel Manganese Cobalt Oxide (NMC), Lithium Nickel Cobalt Aluminium Oxide (NCA) และ Lithium Iron Phosphate (LFP) ในเรื่องความหนาแน่น ของพลังงานต่อปริมาตรหรือน้ำหนักแล้ว ปกติแบตเตอรี่ชนิด NMC จะมีประสิทธิภาพที่มากกว่าแบบ LFP แต่หากพูดถึงมาตรฐานในด้านความปลอดภัยแล้ว แบตเตอรี่ชนิด LFP จะมีมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงกว่า NMC และ NCA เนื่องด้วยมี Decomposition temperature ที่สูงกว่า ที่ประมาณ 270 องศาเซลเซียส ในขณะที่แบตเตอรี่ชนิด NMC และ NCA มี Decomposition temperature ที่ประมาณ 210 และ 150 องศาเซลเซียส ตามลำดับ มาตรฐานความปลอดภัยที่สูงกว่านี้มาจากที่แบตเตอรี่ชนิด LFP เมื่อได้รับความเสียหายแล้ว จะปลดปล่อยความร้อนออกมาที่น้อยกว่าเพียงประมาณ 200 J/g ในขณะที่แบตเตอรี่ชนิด NMC และ NCA จะสามารถปลดปล่อยความร้อนออกมากถึง 600 และ 900 J/g ตามลำดับ ดังนั้น BYD Blade Battery ตัวใหม่นี้จึงเลือกใช้สารเคมีที่อยู่ภายในที่เป็นแบบ LFP

Safety Measurement ที่เหนือกว่า Lithium-ion battery ทั่วไป

รูปภาพ : ตารางแสดงคุณสมบัติความปลอดภัยของสารเคมีในแบตเตอรี่รถยนต์ชนิด NMC, LFP และ NCA (แหล่งที่มา : บทความเรื่อง Risks Associated With Lithium: Can You Really Trust A Lithium Battery?)

หากพูดถึงการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ต้องยกให้การทดสอบด้วยวิธี Nail penetration test ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการทดสอบที่ยากที่สุด โดยลักษณะของการทดสอบนั้น คือการใช้ตะปูเจาะลงกลางเซลล์ของแบตเตอรี่ไปจนทะลุถึงอีกด้านหนึ่ง ซึ่งจะทำเกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในเซลล์ของแบตเตอรี่นำมาซึ่งความร้อนสะสมที่เพิ่มขึ้น โดยความร้อนสะสมนี้จะพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่วินาทีจนไปทำลายเซลล์แบตเตอรี่ข้างเคียงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่า Thermal runaway จนทำให้อุณหภูมิพื้นผิวเพิ่มขึ้นสูง ในที่สุดจึงเกิดการเผาไหม้หรือระเบิดออกมา โดยในการทดสอบนี้ Blade Battery จากทาง BYD แสดงให้เห็นมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงมากเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่แบบ NMC และ LFP แบตเตอรี่แบบดั้งเดิม การทดสอบแบตเตอรี่ทั้ง 3 ชนิดจากทาง BYD ด้วยวิธี Nail penetration แสดงดังรูปที่ 2 โดยแบตเตอรี่ชนิด NCM เมื่อทดสอบด้วยวิธีนี้จะเกิดการเผาไหม้และระเบิดออกมาอย่างชัดเจน และเกิดอุณหภูมิพื้นผิวมากถึง 500 องศาเซลเซียส ขณะที่แบตเตอรี่ชนิด LFP แบบดั้งเดิมนั้นไม่แสดงให้เห็นถึงการเผาไหม้แต่จะมีควันออกมาให้เห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามอุณหภูมิพื้นผิวของแบตเตอรี่ก็ยังสูงอยู่ในช่วงประมาณ 200-400 องศาเซลเซียส จนสามารถทำให้ไข่ดิบสุกได้ ในทางกลับกันการทดสอบนี้ของ BYD Blade Battery นั้นกลับไม่แสดงลักษณะของการเผาไหม้หรือการเกิดควันออกมาให้เห็น มีเพียงแค่อุณหภูมิของพื้นผิวแบตเตอรี่ที่เปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยในช่วงประมาณ 30-60 องศาเซลเซียส แสดงให้เห็นว่าการเกิดปฏิกิริยาความร้อนสะสมนั้นแทบจะไม่มีเลยด้วยวิธี Nail penetration test ของ BYD Blade Battery ด้วยเหตุนี้แบตเตอรี่จากทาง BYD จึงถือว่ามีความปลอดภัยสูงมากในกรณีที่แบตเตอรี่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง

วิดีโอ : การทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยของแบตเตอรี่แบบ Nail penetration test จากทาง BYD ซึ่งแสดงให้เห็นถึงมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงกว่า ของ BYD Blade Battery เมื่อเทียบกับ NCM และ LFP แบตเตอรี่แบบดั้งเดิม (แหล่งที่มา : ช่อง YouTube : Afriplus Energy by BYD Premium Chanel “BYD blade battery nail penetration test)

สิ่งที่ทำให้ LFP แบตเตอรี่ของทาง BYD อยู่เหนือกว่ามาตรฐานความปลอดภัยของ LFP แบตเตอรี่ทั่วไปนั้น เกิดจากการออกแบบรูปร่างของเซลล์แบตเตอรี่รวมถึงรูปแบบในการจัดวางเซลล์แบตเตอรี่ โดยรูปทรงของเซลล์แบตเตอรี่ของทาง BYD นั้นจะถูกออกแบบมาในลักษณะที่คล้ายกับใบมีดจึงถูกเรียกว่า Blade คือมีความบางและรูปทรงที่ยาวกว่าแบตเตอรี่ทั่วไปที่มีการซ้อนทับและมีลักษณะเป็นก้อน ๆ โดยการออกแบบในลักษณะนี้ทำให้เซลล์แบตเตอรี่ของทาง BYD มีพื้นที่ผิวในการระบายความร้อนที่สูงมากจึงสามารถระบายความร้อนออกไปได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับเซลล์แบตเตอรี่แบบก้อนสี่เหลี่ยม และไม่ทำให้เกิดความร้อนสะสม นอกจากนี้แล้ว ด้วยรูปทรงในลักษณะการวางตัวของเซลล์แบตเตอรี่ในรูปแบบคล้ายกับลักษณะของ heat sink ทำให้เซลล์แบตเตอรี่ถูกแยกออกจากกันอย่างชัดเจน และมีพื้นที่ให้อากาศเย็นไหลผ่านระหว่างเซลล์ของแบตเตอรี่ เมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในเซลล์ตัวใดตัวหนึ่งหรือเกิดความร้อนสะสม จะทำให้เกิดความเสียงหายต่อเซลล์แบตเตอรี่ข้างเคียงได้ยาก ทำให้ไม่เกิดการลัดวงจรไฟฟ้าแบบต่อเนื่อง ดังนั้น ปฏิกิริยาการระเบิดหรือการเกิดไฟลุกจึงเกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก

BYD Blade Battery Safety Measurement ที่เหนือกว่า Lithium-ion battery ทั่วไป

รูปภาพ : ลักษณะเซลล์แบตเตอรี่รถยนต์ของ BYD Blade Battery และการจัดเรียงเซลล์แบตเตอรี่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับลักษณะของ Heat sink ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (แหล่งที่มา : บทความเรื่อง BYD Shows Off New Blade Battery Factory In Chongqing)

2. Energy density ที่มีความโดดเด่นด้วย module-free เทคโนโลยี

ด้วยความที่ Blade Battery ของ BYD ถูกออกแบบในลักษณะ cell-to-pack technology (CTP) ซึ่งทำให้มีความหนาแน่นของพลังงานที่ค่อนข้างสูง โดยทั่วไปแล้วแบตเตอรี่แบบดั้งเดิมเซลล์แบตเตอรี่จะถูกแพ็คลงโมดูลก่อนจากนั้นจึงนำแต่ละโมดูลมาแพ็คเป็นก้อนแบตเตอรี่อีกที แต่การแพ็คแบบเดิมนี้จะเสียพื้นที่สำหรับบรรจุเซลล์แบตเตอรี่ค่อนข้างมาก เนื่องจากโมดูลแต่ละอันจำเป็นต้องมีวัสดุเสริมโมดูลเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนโมดูลใหม่ในกรณีที่แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ ดังนั้น volumetric cell-to-pack ratio (VCTPR) ในแบตเตอรี่แบบดั้งเดิมจึงมีค่าค่อนข้างต่ำที่ประมาณ 50% หรือต่ำกว่านั้นคือ 40% ในขณะที่ Blade Battery จากทาง BYD เซลล์แบตเตอรี่แต่ละเซลล์สามารถูกแพ็คได้โดยตรง โดยไม่ต้องแพ็คเซลล์ลงโมดูลก่อน (module-free) ทำให้สามารถมีพื้นที่ในการเพิ่มจำนวนเซลล์แบตเตอรี่ได้มากขึ้น เมื่อสามารถเพิ่มจำนวนเซลล์แบตเตอรี่ความหนาแน่นของพลังงานของแบตเตอรี่จึงเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากจุดเด่นเรื่องความจุแล้ว Blade Battery จากทาง BYD ยังสามารถใช้เป็นวัสดุเสริมโครงสร้างเพื่อความแข็งแกร่งให้กับยานยนต์อีกด้วย ด้วยความที่เซลล์ของ Blade Battery มีลักษณะที่สมมาตรและถูกแพ็คเป็นก้อนแบตเตอรี่ได้โดยตรง ดังรูปที่ 4 ดังนั้น จึงสามารถรับแรงกดที่กระทำจากด้านบนหรือแนวแกน Z ได้ค่อนข้างสูงมากขนาดที่ว่าทาง BYD ได้ลองนำรถสิบล้อที่มีน้ำหนักมากถึง 46 ตัน มาเหยียบลงบนก้อนแบตเตอรี่ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าแบตเตอรี่ยังสามารถคงรูปร่างในลักษณะที่ปกติได้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น และยังสามารถเอาแบตเตอรี่ที่ผ่านการทดสอบกลับไปติดตั้งในยานยนต์เพื่อใช้งานได้อีกครั้ง

จากจุดเด่นทั้งสองด้านนี้ แสดงให้เห็นถึงมาตรฐานความปลอดภัยของแบตเตอรี่ที่สูงในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน และความหนาแน่นของพลังงานในแบตเตอรี่ที่เหนือกว่าแบตเตอรี่ LFP แบบดั้งเดิม ดังนั้น สองเหตุผลข้อสำคัญของแบตเตอรี่นี้ อาจทำให้วงการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าต้องสั่นสะเทือน หลายค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่อาจต้องหันมามองแบตเตอรี่จากทาง BYD เพื่อนำไปใช้กับยานยนต์ไฟฟ้าในค่ายรถยนต์ของตัวเอง ในอนาคตเราอาจได้เห็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีความปลอดภัยสูง เมื่อเกิดการชนจะไม่เกิดไฟไหม้หรือระเบิดจากตัวแบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ไกลมากกว่า 500 กิโลเมตรต่อการชาร์จพลังงานหนึ่งครั้ง ออกมาในราคาที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่าย และสามารถเห็นรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งอยู่ตามท้องถนนมากกว่ารถยนต์เครื่องยนตร์แบบสันดาป

2. Energy density ที่มีความโดดเด่นด้วย module-free เทคโนโลยี

รูปภาพ : การแพ็คเซลล์แบตเตอรี่แบบ module-free เทียบกับการแพ็คเซลล์แบตเตอรี่แบบดั้งเดิม (ซ้าย) (แหล่งที่มา : บทความเรื่อง The Next-Generation Battery Pack Design: from the BYD Blade Cell to Module-Free Battery Pack)

Ocean x Face BYD Blade Battery จุดเปลี่ยนวงการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า สุดยอดนวัตกรรมเปลี่ยนโลก

คำถามที่พบบ่อย

แบตเตอรี่ BYD ใช้ได้กี่ปี?

แบตเตอรี่ BYD เมื่อใช้งานไป 13 ปี (1.2 ล้านกิโลเมตร) ประสิทธิภาพของแบตจะลดลง 20% จากการแสดงผลหน้าจอ คือใช้ได้เต็มที่ 80% แล้วหลังจากนั้นจะเสี่ยมสภาพเรื่อยๆ ตามการใช้งาน หากเราซื้อรถใหม่แล้วไม่ได้ใช้งานแล้ว แบตสามารถถอดออกมาเพื่อใช้เก็บพลังงานโซลาเซลล์ได้ค่ะ

ชาร์จแบตเตอรี่ที่สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแล้วไฟไม่เข้าหรือดึงสายชาร์จไม่ออกจะต้องทำอย่างไร?

เมื่อคุณพยายามชาร์จแบตเตอรี่ที่สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า แต่พบว่าไฟไม่เข้าหรือมีปัญหาในการดึงสายชาร์จออก คุณสามารถทำตามขั้นตอนดังนี้เพื่อแก้ไขปัญหาได้

  1. ตรวจสอบการเสียบและการล็อคหัวชาร์จ : แน่ใจว่าคุณเสียบหัวชาร์จให้แน่นและตรวจสอบว่ามีการล็อคหัวชาร์จอย่างถูกต้องหรือไม่ หากไม่แน่ใจว่าล็อคอย่างถูกต้อง ลองปลดล็อครถแล้วเสียบหัวชาร์จเข้าไปใหม่อีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่ามันถูกติดตั้งอย่างแน่นหนาและถูกต้อง
  2. ตรวจสอบการล็อคประตูรถ (สำหรับบางรุ่น) : หากคุณใช้รถยนต์ที่ต้องการปลดล็อคประตูก่อนถอดสายชาร์จ ตรวจสอบว่าคุณได้ปลดล็อคประตูรถอย่างถูกต้องหรือไม่
  3. ใช้การตัดระบบไฟฝั่งเครื่องชาร์จ : หากยังไม่สามารถถอดหัวชาร์จได้ ลองกดปุ่ม Emergency หรือ Off Breaker main เพื่อตัดระบบไฟฝั่งเครื่องชาร์จ หลังจากนั้นคุณจะสามารถถอดหัวชาร์จออกได้
  4. ติดต่อ Call Center ของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า : หากคุณทำขั้นตอนทั้งหมดแล้วยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ คุณควรโทรติดต่อ Call Center ของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อขอความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคอย่างถูกต้องต่อไป

สามารถตรวจสอบคุณภาพแบตเตอรี่ BYD ได้อย่างไร?

ท่านสามารถนำรถเข้ารับการตรวจสอบได้ทุกศูนย์บริการ BYD ทั่วประเทศ

ติดต่อเรา

บทความที่น่าสนใจ

BYD BD AUTO GROUP คว้า 16 รางวัล-ภาพหน้าปก
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2567 บริษัท บีดี ออโต้ กรุ๊ป ได้เข้าร่วมกิจกรรม Tech Star & Skill Contest ประจำปี 2567 ซึ่งจั...
รถยนต์ไฟฟ้า BYD Dolphin
ในยุคที่การขับขี่ด้วยพลังงานสะอาดเป็นที่นิยมมากขึ้น จังหวัดสตูลก็ไม่ต่างจากที่อื่นๆ ในประเทศไทยที่ให้ความสนใจในการใช้รถย...
SEALION 7 Interior 01 (Web H)
ในยุคที่เทคโนโลยียานยนต์พัฒนาอย่างก้าวกระโดด หนึ่งในระบบที่ได้รับความนิยมและเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่คือ Auto Vehi...
SEALION 7 Interior 01 (Web H)
ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผันพร้อมฟังก์ชันหยุดและออกตัว หรือ Adaptive Cruise Control with Stop and Go (ACC-S&...
SEALION 7 Interior 01 (Web H)
ระบบช่วยเบรกเมื่อมีรถผ่านในจุดอับสายตาขณะถอยหลัง หรือ Rear Cross Traffic Brake (RCTB) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาเพื...
SEALION 7 Interior 01 (Web H)
ระบบควบคุมความเร็วขณะลงทางลาดชัน หรือ Hill Descent Control (HDC) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้อง...
กำลังเพิ่มข้อมูล