BD AUTO logo

BYD SEAL

Premium RWD

รถยนต์ไฟฟ้า BYD Seal

เป็นพรีเมี่ยมสปอร์ตซีดานตัวแรกที่แบรนด์ BYD นำเข้ามาจัดจำหน่ายในประเทศไทย พร้อมด้วยอัตราเร่ง 0-100 โดยใช้เวลาเพียง 3.8 วินาที ด้วยขุมพลังแรงม้าที่สูงถึง 523 แรงม้า มาพร้อมกับแรงต้านอากาศเพียง 0.219 โดยในส่วนนี้รับประกันเรื่องการประหยัดพลังงานและช่วยในเรื่องของความเร็ว หากจะพูดถึงอัตราการวิ่งสูงสุดต่อการชาร์จ 1 ครั้งจะอยู่ที่ 650 กิโลเมตรต่อ 1 รอบการชาร์จ โดยมาพร้อมกับเทคโนโลยีสุดล้ำที่ BYD ให้มาแบบเต็มๆ ที่สร้างกระแสตอบรับได้อย่างล้นหลาม มียอดการจองที่เปิดตัวในวันแรกสูงถึง 1,289 คัน BYD SEAL จะมีทั้งหมด 3 รุ่น BYD SEAL DYNAMIC RWD, BYD SEAL PREMIUM RWD และ BYD SEAL PERFORMANCE AWD ภายนอกที่ดูเหมือนจะไม่แตกต่างกัน เป็นซีดาน 4 ประตู 5 ที่นั่ง มีสิ่งที่โดดเด่นออกมานั้นก็คือ หลังคากระจกทั้งแผ่นที่เรียกว่า Silver-Plated Panoramic Glassroof และ ไฟ LED รอบคันแรกได้ว่าล้ำสมัยสุดๆ กระโปรงฝาท้ายติดตั้งกันหนีบอัจฉริยะ มือจับประตูแบบ Pop – Out ที่ซ่อนในตัวรถ จะออกมาเมื่อมีการใช้งานหรือปลดล็อครถ ทำใน BYD SEAL คันนี้ดูสวยงามเรียบหรูไปอีกขั้น ยังมีประโยชน์ในการช่วยลดแรงต้านของลมอีกด้วย กระจกหน้ารถที่เก็บเสียงได้ดี เพราะเป็นกระจก 2 ชั้น มาดูกันที่ความเรียบหรูภายใน ที่จะมีการตกแต่งสีดำทั้งหมด และหน้าจอแผงควบคุมต่างๆที่สั่งการผ่านจอทั้งหมด แม้กระทั่งทิศทางของแอร์ ซ่อนความไฮเทคโดยมีเส้นไฟเล็กๆรอบคัน เหมาะแก่การเป็นรถยนต์ในโลกอนาคต ตัวแอร์ยังมีระบบฟอกอากาศ PM2.5 อีกด้วย เรียกได้ว่าประสิทธิภาพคุ้มเกินราคาจริงๆ

ความหมายของชื่อ BYD SEAL

มีความหมายมาแมวน้ำ เป็นหนึ่งในรถยนต์ตระกูล Ocean มาในรูปแบบ Sedan 4 ประตู และแนวคิดในการออกแบบรถคันนี้ก็มาจากความสวยงามของท้องทะเล คล้ายๆ กับ BYD DOLPHIN ภายนอกจะมาในรูปทรงสปอร์ตซีดาน แต่พอได้เจอตัวจริงส่วนตัวเรามองว่าสวยกว่าในรูป ดูบางลง ภายในดูกว้างขวางไม่อึดอัด คงเพราะให้หลังคากระจกมาตั้งแต่รุ่นเริ่มต้น และที่สำคัญภายในดูเรียบกว่า ATTO 3

Ocean X Face

ดีไซน์ภายใต้คอนเซปต์ศิลปะแห่งท้องทะเล ตามแบบฉบับที่เป็นเอกลักษณ์ของ BYD Ocean Series กับเส้นสายที่โฉบเฉี่ยวกว่าเคย ด้วยด้านหน้ารถแบบ X Face ที่ผสานความเป็นสปอร์ตและความเรียบหรูเข้าด้วยกันอย่างลงตัว

ความหมายของสี

สีแรกของ BYD SEAL ซึ่งเป็นสีชูโรง ในการโปรโมทตามสื่อต่างๆ นั่นคือ “สีฟ้า”

BYD SEAL Velocity blue ซึ่งจะมีเฉพาะในรุ่น BYD SEAL AWD PERFOMANCE เท่านั้น

ถ้าแปลกันแบบตรงตัว Velocity จะหมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งของวัตถุต่อเวลา หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า “ความเร็ว” นั่นเอง

โดยความเร็วนั้น เป็นแนวคิดที่สำคัญในหลักฟิสิกส์ เนื่องจากมันอธิบายถึงว่าตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนแปลงอย่างไรตลอดเวลาและในทิศทางใด ซึ่งจะถูกต่อยอดในการคำนวณปริมาณอื่นๆ เช่น ความเร็ว (ความสามารถในการวัดขนาดของความเร็ว) ความเร่ง (อัตราการเปลี่ยนแปลงของความเร็ว) และอื่นๆ ที่เป็นสิ่งสำคัญในการศึกษาเรื่องการเคลื่อนที่

ซึ่งเมื่อมองในแง่ยนตกรรมแล้ว Velocity คือคำจัดกัดความและนิยามถึงความสปอร์ต รวดเร็ว เป็นผู้นำ สมกับเป็นสีแห่งตัวท้อปของ BYD SEAL ในรุ่น BYD SEAL AWD PERFOMANCE

ถัดมา กับ BYD SEAL Space grey หรือ สีเทา

สียอดนิยมอีกสี สำหรับลูกค้าที่สนใจรุ่นรองลงมาจาก BYD SEAL AWD PERFOMANCE

“Space Grey” เป็นคำยอดนิยมที่ใช้ในการบรรยายสีเฉพาะ ที่มีความสัมพันธ์กับความคิดและเทคโนโลยีของการสำรวจห้วงอวกาศ และมักเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่หรูหรา มีความทันสมัยสูง มาในโทนสีเทาเข้มหรือเทาเมทัลลิก จึงเป็นที่นิยมสำหรับแล็ปท็อป สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ไปจนถึงรถไฟฟ้าอย่าง BYD SEAL Space grey

BYD SEAL Horizon White หรือ “สีขาว”

สี Classic สำหรับทุกยุคทุกสมัย โดยการใช้คำว่า “ Horizon “ ซึ่งหมายถึงสุดขอบฟ้า กว้างไกลสุดขอบเขต แสดงถึงความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัด ความฝัน ความหวัง เหมาะกับคนที่รักในอิสรภาพ

และสุดท้าย กับความดุดันและเขร่งขรึม BYD SEAL Quantum Black หรือ “สีดำ”

ที่หากจะอธิบายคำว่า “ Quantum ” หรือ “ควอนตัม ” ตามหลักฟิสิกส์แล้ว จะหมายถึงหน่วยพื้นฐานหรือปริมาณไม่ต่อเนื่องของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักเกี่ยวข้องกับกลศาสตร์ควอนตัม (quantum mechanics) ซึ่งเป็นสาขาของฟิสิกส์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของสารและพลังงานในขอบเขตขนาดเล็กที่สุด เช่นอะตอม เป็นสิ่งพื้นฐานในการเข้าใจพฤติกรรมของโลกขนาดจิ๋ว แต่หากนำมาใช้เชิงเทคโนโลยี จะอยู่ในบริบทของความล้ำสมัย มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการ ความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แสดงถึงความอัจริยะ ฉลาดปราดเปรื่อง

ทริคเล็กๆ

  • ระบบ iTAC “Intelligence Torque Adaption Control” ควบคุมแรงบิดอัจฉริยะ (อยู่ในรุ่น BYD Seal AWD Performance เท่านั้น)

BYD Seal เป็นรถยนต์คันแรกของ BYD ที่มีเทคโนโลยี iTAC โดยจะเข้ามาเสริมการควบคุมเสถียรภาพของการทรงตัวมากกว่าเดิม ซึ่งจะจับจากเซ็นเซอร์ที่ล้อและที่มอเตอร์ แบ่งเป็นแต่ละรอบของปลายล้อออกเป็น 32 หรือ 48 บิตในการรับข้อมูล

จาก iTAC ปลายล้อของแต่ละเทิร์นสามารถแบ่งออกเป็น 4,096 บิต ซึ่งหมายความว่าความเร็วและความแม่นยำของข้อมูลที่รวบรวมนั้นสูงขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ระบบ iTAC ยังสามารถปรับการส่งแรงบิดของมอเตอร์ตามเวลาจริงได้ตามต้องการและมันสามารถถ่ายโอนแรงบิดบางส่วนหรือทั้งหมดไปยังล้อด้วยการยึดเกาะที่มากขึ้น และหลีกเลี่ยงการทำให้รถต้องถูกแทรกแซงด้วยระบบรักษาเสถียรภาพ ESP

เมื่อ BYD ทดสอบ BYD Seal บนหิมะ จะพบว่าระบบ iTAC สามารถเร่งความเร็วบนถนนที่ลื่นไถลได้เร็วกว่า นอกจากนี้ เมื่อสูญเสียการทรงตัว คนขับก็ไม่ต้องการการแก้ไขทิศทางของรถมากเกินไป

  • Ionizer System เป็นเทคโนโลยีการปล่อยไอออน (ion) หรือ อนุภาคไฟฟ้าประจุลบในอากาศ ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณ เชื้อรา สารฟอร์มาลดีไฮด์ ไวรัส และ สารก่อภูมิแพ้ที่เกิดจาก ไรฝุ่นในอากาศ ก่อนนำเข้าสู่ภายในรถทำให้อากาศภายในบ้านบริสุทธิ์ และใกล้เคียงธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีในรถ BYD SEAL
  • BYD SEAL การปรับเบาะของผู้ขับขี่ นอกจากปรับได้ 8 ทิศทางแล้ว

*รุ่น Premium และรุ่น AWD Performance ยังมีปุ่ม lumbar support หรือ การปรับตัวดันหลัง 4 ทิศทาง สามารถปรับให้เขากับการโค้งของกระดูกบั้นเอวผู้โดยสาร

●กดที่ส่วนหน้าหรือส่วนหลังของสวิตช์เพื่อเพิ่มหรือลดสวนโค้ง

● กดที่ส่วนบนหรือส่วนล่างของสวิตช์เพื่อยืดสวนโค้งขึ้นหรือย่อลง

  • ถุงลมนิรภัยของ BYD SEAL มีถึง 9 ตำแหน่ง คือ

ถุงลมด้านหน้า (Front Airbag) ลูกที่1,2 จะติดตั้งอยู่บนคอนโซลด้านหน้าขวาและซ้าย ช่วยป้องกันคนขับรถ และคนที่นั่งข้างคนขับ 

ถุงลมด้านข้างตอนหน้า (Front Side Airbag) ลูกที่3,4 จะติดตั้งอยู่ที่ตัวเบาะนั่งคนขับด้านขวาและซ้าย

ลูกที่5 จะติดตั้งอยู่ที่ตัวเบาะผู้ขับขี่ด้านซ้าย  ป้องกันการกระแทกตรงส่วนครึ่งกลาง และด้านล่างของร่างกาย

ม่านถุงลม (Side Curtain Airbag) ลูกที่6,7 จะติดตั้งอยู่ที่ด้านข้างเหนือกระจากทั้ง 4 บาน ป้องกันไม่ให้ใบหน้าและศีรษะได้รับแรงกระแทก

ถุงลมด้านข้างตอนหลัง (Rear Side Airbag) ลูกที่8,9

จะติดตั้งที่เบาะผู้โดยสารตอนหลัง

*ตำแหน่งของถุงลมนิรภัย สังเกตจากจะมีป้ายเขียนว่า Airbag

  • BYD Seal เป็นรถรุ่นที่ขับเคลื่อนล้อหลังและขับเคลื่อน4ล้อ

ขับเคลื่อนล้อหลัง ข้อดี การควบคุมรถดีกว่าเนื่องจากมีการบังคับเลี้ยวซ้ายขวากับล้อที่ส่งกำลังแยกกัน ทำให้เข้าโค้งได้ดีกว่า

เคลื่อน 4 ล้อ ข้อดี

มีสมรรถนะในการยึดเกาะถนนดีมาก

ความแตกต่างแต่ละรุ่น

สำหรับเจ้าแมวน้ำตัวแรงไฟฟ้าเวอร์ชั่นที่วางจำหน่ายในไทยจะมีทั้งหมด 3 รุ่นย่อย คือ Dynamic , Premium และ Performance ในด้านดีไซน์ทั้ง 3 รุ่นนั้นเรียกว่าดูผ่าน ๆ จะแยกกันแถบไม่ออก

จะมีเพียงในส่วนล้ออัลลอย และเฉดสีตัว ที่จะพอแยกย่อยให้ทราบว่าคันนี้เป็นรุ่นอะไร โดยถ้าเป็นล้อขนาด 18 นิ้ว ก็ฟันธงไปเลยว่าเป็นตัว Dynamic รวมทั้งจะมีเฉพาะเฉดสีขาว และสีดำเท่านั้น

ส่วนในตัว Premium จะเป็นล้ออัลลอยขนาด 19 นิ้ว พร้อมเพิ่มเฉดสีเทาเข้ามา ส่วนในรุ่น Premium ถ้าเห็นเป็นเฉดสีฟ้า ใช้เลยว่าเป็นตัวท็อป ที่มาพร้อมล้ออัลลอยขนาด 19 นิ้ว ขณะที่ในด้านมิติตัวถัง จะมีความยาว 4,800 มม. กว้าง 1,875 มม. สูง 1,460 มม. และระยะฐานล้อถึง 2,920 มม. มาพร้อมระยะความสูงจากพื้นถนนที่ 120 มม. จัดเป็นในระดับ D-segment ซึ่งเมื่อเทียบกับคู่แข่งโดยตรงอย่าง Tesla Model 3 ถือว่าใหญ่กว่าอยู่พอสมควร

เมื่อเข้าไปภายในห้องโดยสาร จะสัมผัสได้ถึงความสปอร์ต มาพร้อมกับความเรียบหรูดูแพง ผสานกับความกว้างขวา เบาะที่นั่งบักเกตซีตทรงสปอร์ตชิ้นเดียวที่ให้อารมณ์สปอร์ต โอบรับกับตัวได้ดี เพิ่มความหรูหราดูแพงด้วยคันเกียร์ไฟฟ้าที่มีหัวเกียร์เป็นแบบคริสตัล

มาพร้อมปุ่มใช้งาน และสั่งการต่าง ๆ วางจัดตำแหน่งได้ดูดี ไม่ว่าจะเป็นปุ่มเปลี่ยนโหมดระบบขับเคลื่อน แบบลูกกลิ้งขนาดเล็ก สิ่งที่ชอบอีกอย่างคือให้แท่นชาร์จสมาร์ตโฟนแบบไร้สายถึง 2 ช่อง

ขณะที่หน้าจอหลักสามารถหมุนได้ การใช้งานไหลลื่น ระบบแอร์อัตโนมัติ แต่การปรับองศาต่างๆ จะใช้ยากนิดนึง คือต้องเข้าไปปรับ ในหน้าจอส่วนกลาง ซึ่งเป็นอะไรที่ดูจะมีความวุ่นวายมากพอสมควร แต่ถ้าหากใช้ไปนาน ๆ ก็อาจจะให้ให้คุ้นชินมากขึ้น

นอกจากนั้นในทุกรุ่นย่อยยังติดตั้งหลังคาซันรูฟแบบพาโนรามิค 2 ชั้น ที่เคลือบด้วย Silver-plated ทำให้กั้นความร้อนจากแสงแดดเมืองไทยได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีขนาดใหญ่ถึง 1.9 ตรม. จึงช่วยทำให้ตัวรถนั้นดูใหญ่โปร่ง และโล่งสบายตา ไม่อึดอัด

เบาะนั่งด้านหลังมีระยะช่วงขากว้าง แต่ถ้าหากเป็นคนที่มีความสูงมาก ๆ อาจจะไม่ค่อยตอบโจทย์ เพราะด้วยหลังคารถด้านท้ายออกแบบให้มีความลาดเท จึงทำให้มี Headroom ที่ค่อยข้างน้อย

ส่วนระบบความปลอดภัย และระบบช่วยเหลือกการขับขี่ ถ้าใครเป็นพวกชอบระบบความปลอดภัยขั้นสูง BYD SEAL ถือว่าตอบโจทย์ เพราะจับยัดเกือนทุกระบบความปลอดภัยที่ต้องมีในรถยนต์มาให้อย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็นระบบความปลอดภัยกว่า 20 ระบบ รวมถึงถุงลมนิรภัย 9 ใบ ที่มีให้ครบในทุกรุ่นย่อย

ในแต่ละรุ่นย่อยจะมีขนาดของแบตเตอรี และมอเตอร์ไฟฟ้าแตกต่างกัน เริ่มจากรุ่น Dynamic ที่มาพร้อมกับมอเตอร์ไฟฟ้าตัวเดี่ยวที่วางอยู่ที่คู่ล้อหลังให้กำลังสูงสุด 204 แรงม้า แรงบิด 310 นิวตันเมตร มาพร้อมแบตเตอรีความจุ 61.44kWh รองรับการชาร์จไฟฟ้าสูงสุด (DC) ที่ 110 kW ชาร์จไฟเต็มวิ่งได้ระยะทางไกลสุด 510 กม. ตามมาตรฐาน NEDC พร้อมให้อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ใน 7.5 วินาที

ต่อมาคือรุ่น Premium ที่ยังคงมากับมอเตอร์ไฟฟ้าตัวเดี่ยวที่ล้อหลังเหมือนกับในรุ่นเริ่มต้น แต่ปรับมห้มีพละกำลังมากขึ้นโดยมีกำลังอยู่ที่ 313 แรงม้า แรงบิดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 360 นิวตันเมตร ให้อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ใน 5.9 วินาที มาพร้อมแบตเตอรีความจุ 82.56kWh รองรับการชาร์จไฟฟ้าสูงสุด (DC) ที่ 150 kW ขาร์จไฟเต็ม 1 ครั้งวิ่งได้ระยะทางสูงสุด 650 กม. ตามมาตรฐาน NEDC

ส่วนรุ่นท็อปคือ Performance จะมากับมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัว คู่หน้าให้กำลัง  214 แรงม้า แรงบิด 310 นิวตันเมตร ส่วนคู่หลังให้กำลัง 390 แรงม้า แรงบิด 360 นิวตันเมตร ให้กำลังรวมสูงุสด 530 แรงม้า แรงบิด 670 นิวตันเมตร อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ใน 3.8 วินาที มาพร้อมแบตเตอรี่ Blade ขนาด 82.56kWh ชาร์จไฟเต็มวิ่งไกลสุด 580 กม.ตามมาตรฐาน NEDC

นอกจากนี้ตัวถังของ BYD Seal ออกแบบตัวถังในรูปแบบ Cell to Body 3.0 ซึ่งเป็นการวางชุด Blade Battery ติดไปกับโครงสร้างตัวถังบริเวณด้านล่างตัวรถ ทำให้ตัวแบตเตอรี่นั้นเรียกว่าจะเป็นหนึ่งเดียวกับตัวรถ ซึ่งในการจัดวางชุดแบตเตอรี่เช่นนี้ ยังช่วยในเรื่องของระบบช่วงล่าง ที่ทำให้ยึดเกาะถนนได้ดีมากขึ้น รวมทั้งยังจะช่วยเพิ่มพื้นที่ภายในห้องโดยสารให้กว้างมากขึ้น ประกอบกับที่ตัวรถถูกออกแบบให้มีความกว้างของระยะฐานล้อที่ค่อนข้างมาก

เริ่มสัมผัสความเร้าใจแต่ละรุ่นย่อย

ในการทดลองขับครั้งนี้ทางทีมงานได้เจ้ารุ่น Dynamic เป็นรุ่นแรก โดยเริ่มออกสตาร์ทจาก Davin Cafe โดยในรุ่น Dynamic จะเป็นรุ่นเริ่มต้นพื้นฐานที่มากับมอเตอร์ไฟฟ้าตัวเดี่ยวอยู่ที่คู่ล้อหลัง พละกำลังระดับ 204 แรงม้า ในด้านการขับขี่นั้นถึงแม้ว่ามากับมอเตอร์ไฟฟ้าเพียวตัวเดียว กับขนาดตัวรถที่เรียกว่าใหญ่ระดับรถเก๋ง D-segment อัตราเร่งโดยรวมต้องบอกว่าไม่ธรรมดา เรียกว่ากดเป็นมาเร่งแซงได้ทันใจ ซึ่งเมื่อรวมกับดีไซน์ที่เน้นความลู่ลมด้วยฝากระโปรงหน้าที่เทลาด ส่งผลให้มีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานอากาศ cd 0.219 ยิ่งทำให้ตัวรถพุ่งทยายไปได้อย่างง่ายดาย

การขับควบคุมตัวรถเป็นได้อย่างดี จะมีข้อที่น่ารำคาญอยู่ที่ระบบช่วยเหลือในการขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นระบบเตือนเปลี่ยนเลน หรือระบบเตือนรถสวนทาง ที่จะดึงพวงมาลัยจนทำให่ตกใจได้เลย (แต่ระบบดังกล่าวก็สามารถปิดได้) ขณะที่พวงมาลัยดูจะเบาไปนิด แต่ก็สามารถปรับน้ำหนักได้เช่นกัน ขณะที่ระบบช่วงล่างให้ความนุ่มนวล ตัวรถนิ่งขณะใช้ความเร็วสูง การมุดแซงเป็นไปได้ดั่งใจ ถึงแม้รูปลักษณ์จะดูใหญ่โต แต่ได้ในเรื่องพละกำลังช่วย จึงทำให้การเร่งแซง ในช่วงจังหวะต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างง่ายดาย

หลังจากนั้นก่อนที่จะถึงจุดหมายปลายทางที่ 8 speed เขาใหญ่ ก็ได้สลับมาขับในรุ่นตัวท็อป อย่างรุ่น Performance ที่เป็นรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อตัวแรง ที่ให้พละกำลังมากถึง 531 แรงม้า ในด้านความรู้สึกจะแตกต่างจากรุ่น Dynamic อย่างชัดเจน

โดยในรุ่น Performance เป็นรุ่นที่มีพละกำลังมาให้อย่างเหลือเฟือ ซึ่งทางผู้ผลิตเคลมไว้ว่าจะมีอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ในเวลา 3.8 วินาที ซึ่งเป้นอย่างนั้นเราก็ต้องทำการพิสูจน์ ซึ่งหลังจากการลองออกตัวจากไฟแดง เพียงแค่กดคันเร่งต้องบอกว่าหัวกระแทกเบาะได้เลย ตัวรถไต่ความเร็วสามารถทำได้ในพริบตา ตามที่ทาง BYD ได้คุยไว้จริง แต่สำหรับใครที่ยังไม่ชินการขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าแบบแรง ๆ ที่มีแรงกระชาก และแรง G ที่มาก รวมทั้งยังมีการ Regenerative Braking ดึงพลังงานกลับไปเก็บยังแบตเตอรี่ ก็อาจทำให้มึนหัวได้โดยเฉพาะผู้โดยสาร

ส่วนระบบช่วงล่าง ที่ทางบีวายดีเลือกใช้ช่วงล่างแบบดับเบิลวิชโบนที่ด้านหน้าพร้อม 5-ลิงค์ ที่ด้านหลัง ในทุกรุ่นย่อย ให้ความรู้สึกที่หนักแน่น นุ่มหนึบ ในสไตล์สปอร์ต รวมถึงถ้าวิ่งด้วยความเร็วปกติ ไม่เร็วแบบฟ้าผ่า ช่วงล่างที่จัดเซทมาให้นี้ก็เอาอยู่

นอกจากนั้นในรุ่นนี้ยังทำการปรับเซทโช๊คอัพใหม่ ให้ปรับอัตโนมัติตามความเร็วแบบ Frequency Selective Damping (FSD) โดยจะทำการควบคุมปริมาณน้ำมันไฮดรอลิกที่ฉีดเข้าไปในกระบอกสูบโช้คอัพผ่านวาล์ว FSD จึงปรับความนุ่มนวล และความแข็งของโช้คอัพได้โดยอัตโนมัติ การปรับเปลี่ยนแบบแปรผันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับกับการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าทั้งคู่หน้า และหลัง พร้อมรองรับความแรงระดับมากกว่า 500 ม้าได้อย่างสบาย

อีกทั้งทาง BYD ยังได้ เปิดโอกาสให้ทดลองขับในสนามทดสอบ 8Speed เขาใหญ่ โดยในการทดสอบครั้งนี้มีสเตชันต่าง ๆ เพื่อให้รับรุู้ถีงระบบช่วงล่างของตัวรถให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานีการเปลี่ยนเลนกะทันหัน หรือการขับขี่แบบสลาลอม รวมถึงการหักเลี้ยวแบบโดนัทเป็นวงกลม ซึ่งจะใช้ในรุ่น AWD Performance เป็นรุ่นในการทดสอบ

ซึ่งจากการได้ลองสถานีต่าง ๆ นี้ พบว่าตัวรถสามารถตอบสนองได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะระบบขับเคลื่อน 4 ล้อของในรุ่น AWD Performance ตัวรถมีความมั่นคงดีมากในชวงสลาลม อาจจะมีอาการโยกตัวบ้างเล็กน้อย ตามอาการเหวี่ยวของตัวรถ แต่ยังควบคุมได้

นอกจากนี้มีการลองระบบ iTAC เป็นระบบที่ช่วยตัดแรงบิดเมื่อเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง เราได้ทำการทดลองวิ่งเป็นรูปโดนัท โดยตัวระบบจะควบคุมการส่งกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งหากมีการหักเลี้ยวค่อนข้างมาก พร้อมกับการกดคันเร่งลึก ระบบจะตัดการส่งกำลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมลดกำลังแรงบิด เพื่อไม่ให้มีกำลังสูงจนหลุดโค้ง ซึ่งระบบดังกล่าวนี้ ช่วยให้การเข้าโค้งแบบโดนัทเป็นไปได้อย่างสบาย ไม่มีอาการหลุดโค้งออกมาให้เห็น

หลังจากผ่านพ้นไปแล้ว 2 รุ่น ในขากลับเราได้เจ้ารุ่น Premium ที่เป็นรุ่นย่อยระดับกลางเป็นพาหนะกลับเข้าสู่ กทม. โดยความดีงามของในรุ่นนี้ก็คือจะมีขนาดแบตเตอรี่ที่มีความจุเท่ากับตัวท็อปโดยมีขนาดอยู่ที่ 82.56kWh ซึ่งทาง BYD เคลมไว้ว่าจะวิ่งได้ระยะไกลถึง 650 กม. ซึ่งมากกว่าทุกๆ รุ่นย่อย

ขณะที่ในด้านพละกำลังนั้นถึงแม้จะเป็นรองในรุ่น AWD Performance แต่ก็แรงกว่าในรุ่น Dynamic เป็นรุ่นเริ่มต้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นจุดกึ่งกลางของความพอดี ที่มีทั้งแบตเตอรี่ลูกใหญ่ที่วิ่งได้ไกลสุด มาพร้อมกับพละกำลังสมรรถนะที่พอตัวในความแรงระดับ 313 แรงม้า ขณะที่อัตราเร่งก็จัดจ้านไม่แพ้ใครกับ 0-100 กม./ชม. ในเวลา 5.9 วินาที จากการทดลองขับในตัว AWD Performance อาจจะลดกำลังลงมาบ้าง แต่ก็ไม่น้อยหน้าใครบนถนนเป็นแน่ รวมทั้งยังมีออปชันที่ใกล้เคียงกับรุ่น Performance

ขณะที่ระบบช่วงล่างก็ยังคงมีความนุ่มนวล หนึบแน่นใกล้เคียงกับรุ่น Dynamic และรุ่น Performance ที่สำคัญมาพร้อมกับแบตเตอรีลูกใหญ่ที่ไม่ต้องกังวลให้การแวะชาร์จบ่อย ๆ

สมรรถนะ

ระยะทางสูงสุด

580 กิโลเมตร

0-100 km/h

3.8 วินาที

มอเตอร์

390 กิโลวัตต์

BYD SEAL

Dynamic

7.5 Sec

0-100 km/h

ACCELERATION

510 km

BYD SEAL

Premium

5.9 Sec

0-100 km/h

ACCELERATION

650 km

BYD SEAL

AWD Performance

3.8 Sec

0-100 km/h

ACCELERATION

580 km

การชาร์จ

แบตเตอรี่

82.56 กิโลวัตต์-ชั่วโมง

หัวชาร์จ

AC type 2 / DC CCS 2 (150 กิโลวัตต์)

*ข้อมูลสมรรถนะและแบตเตอรี่ของ AWD Performance range

ราคา

Dynamic RWD

฿ 1,325,000

Premium RWD

฿ 1,449,000

AWD Performance

฿ 1,599,000

สิทธิพิเศษและเอกสิทธิ์เฉพาะ BYD

ประกันแบตเตอรี่นาน
8 ปี หรือ 160,000 กม.
(**แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน)
BYD ATTO 3 ปลุกพลังใหม่ ปลุกชีวิตที่ดีกว่า
Battery BYD BD Auto Group

เบลดแบตเตอรี่สุดยอดนวัตกรรมเปลี่ยนโลก

นวัตกรรมใหม่ของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ เอกสิทธิ์เฉพาะของ BYD ให้ความปลอดภัยสูงสุด มั่นใจได้ทุกการขับขี่

รถยนต์ไฟฟ้า BYD ATTO 3

e-Platform 3.0

แพลตฟอร์มแห่งอนาคตที่ยกระดับการขับขี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าไปอีกขั้น ทั้งอัตราเร่ง ระยะทางการขับขี่ ความเร็วในการชาร์จ เกาะถนนเป็นเยี่ยม ตลอดจนความนุ่มนวลในทุกการขับขี่

รถยนต์ไฟฟ้า BYD ATTO 3 ภายใน

Infotainment & Lifestyle

ปลุกทุกความตื่นเต้นเร้าใจ ด้วยสุนทรียภาพของการขับขี่ เหนือระดับตลอดการเดินทางด้วยฟังก์ชันการใช้งานที่ล้ำสมัย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมืองอย่างแท้จริง

ภายนอก BYD SEAL

ภายใน BYD SEAL

การออกแบบ

รถยนต์ไฟฟ้า BYD Seal
Horizon White (all)

Still not ready?

ถ้าคุณยังไม่แน่ใจลองทำความรู้จักเรามากขึ้น

คำถามที่พบบ่อย

ประสบการณ์ที่เหนือกว่าจาก BYD