เครื่องชาร์จหรือตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร? พร้อมความรู้เรื่องมาตรฐานระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

เครื่องชาร์จหรือตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร? พร้อมความรู้เรื่องมาตรฐานระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
BYD BD Auto Group

เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหรือตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Car Charger) ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถชาร์จไฟฟ้าให้กับรถยนต์ไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพ รองรับการสื่อสารกับระบบต่างๆ ง่ายต่อการติดตั้ง มีมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก เหมาะสำหรับใช้งานในสถานที่ต่างๆ เช่น ที่จอดรถ ตึกสำนักงาน บ้าน คอนโดมีเนียม และสถานีชาร์จ สามารถติดตั้งได้ทั้งแบบ Wall Charger และ Pole Charger อย่างครอบคลุมและเหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย

ในบทความนี้เราจะมารู้จักกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงเครื่องชาร์จหรือตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าและประเภทการชาร์จที่มีอยู่ นอกจากนี้ เราจะพูดถึงวิธีการติดตั้งเครื่องชาร์จภายในบ้าน ทั้งแบบ Wall Charger และ Pole Charger รวมถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการเลือกซื้ออุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เช่น หัวชาร์จ ระบบชาร์จ และขั้นตอนการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

เครื่องชาร์จหรือตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร? พร้อมความรู้เรื่องมาตรฐานระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

เครื่องชาร์จหรือตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร?

เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหรือตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Car Charger) คือเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เป็นตัวอัดประจุไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า โดยสามารถแบ่งการชาร์จออกเป็น 2 ประเภท คือ Normal Charge และ Quick Charge หรือแบ่งง่ายๆคือ เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระแสสลับ(EV AC Charger) และ เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระแสตรง (EV DC Charger)

เครื่องชาร์จหรือตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร? พร้อมความรู้เรื่องมาตรฐานระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

มาตรฐานระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charging

1.เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระแสสลับ AC EV Charger

เครื่องชาร์จหรือตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร? พร้อมความรู้เรื่องมาตรฐานระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

Normal Charge เป็นการชาร์จด้วยไฟ AC ซึ่งเป็นกระแสสลับ โดยชาร์จผ่าน On Board Charger ที่ยู่ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ในการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC ขนาดของตัว On Board Charger จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งขนาดของ On Board Charger จะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบกระแสสลับ (AC Charger) สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท

1.1 การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบธรรมดา แบบ Double Speed Charge

การชาร์จแบบธรรมดาด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) เช่นตู้ชาร์จติดผนังติดตั้งที่บ้านหรือตามห้างสรรพสินค้า (เครื่องชาร์จ WALL BOX, WALL Charging) ระยะเวลาการชาร์จจะลดลง อยู่ที่ประมาณ 4-8 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับกำลังไฟของที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Wall box หรือ Wall Charging ขนาดของแบตเตอรี่และสเปคของรถยนต์ไฟฟ้า

ประเภทหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Double Speed Charge
AC DOUBLE SPEED CHARGE ประเภทหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Double Speed Charge

การชาร์จด้วยตู้ชาร์จติดผนังสามารถชาร์จได้รวดเร็วกว่าการต่อจากเต้ารับภายในบ้านโดยตรง โดยหัวชาร์จที่ใช้จะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

  1. หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า TYPE 1 เป็นหัวชาร์จที่ใช้กับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น
  2. หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า TYPE 2 เป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้กับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในแถบทวีปยุโรป

หมายเหตุ : ทั้งนี้การติดตั้งตู้ชาร์จติดผนัง (wall box, wall charger) มิเตอร์ไฟของบ้านที่ติดตั้งต้องสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าขั้นต่ำ 30 (100)A

*รถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายในประเทศไทย โดยส่วนมากหัวชาร์จ AC Charging จะเป็นแบบ Type 2 เนื่องจากเป็นมาตรฐานที่หน่วยงานรัฐในไทยได้กำหนดไว้*

1.2 การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Normal Charge

การชาร์จไฟจากการต่อจากเต้ารับภายในบ้านโดยตรง มิเตอร์ไฟของบ้านต้องสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าขั้นต่ำ 15(45)A และเต้ารับไฟในบ้านต้องได้รับการติดตั้งใหม่ เป็นเต้ารับเฉพาะการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ เนื่องจากการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไม่สามารถใช้เต้ารับแบบธรรมดาได้ ทั้งนี้การติดตั้งต้องได้รับมาตรฐานจากผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในระยะยาว

ประเภทหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Normal Charge

การชาร์จในลักษณะนี้มักจะเป็นการชาร์จแบบไฟฟ้ากระแสสลับ จึงใช้ระยะเวลาในการชาร์จประมาณ 12-15 ชั่วโมง หัวชาร์จที่ใช้มีดังนี้

  • หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่นิยมใช้ในทวีปอเมริกาเหนือและประเทศญี่ปุ่น เป็นหัวชาร์จพลังงานไฟฟ้าแบบกระแสสลับใช้แรงดันไฟฟ้าที่ 120 V หรือ 240 V
  • หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่นิยมใช้ในแถบทวีปยุโรป เป็นหัวชาร์จแบบพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ รองรับแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 120 V หรือ 240 V
เครื่องชาร์จหรือตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร? พร้อมความรู้เรื่องมาตรฐานระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

2. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระแสตรง DC EV Charger

Quick Charge จะเป็นการชาร์จโดยใช้ตู้ EV DC Charging ที่แปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC แล้วจ่ายไฟ DC เข้าที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะน้อยกว่าแบบ Normal Charger หัวชาร์จ (SOCKET) ของตู้ EV Charger จะมีทั้งแบบที่เป็น AC และ แบบ DC ประเภทของหัวชาร์จจะขึ้นอยู่กับมาตรฐานของผู้ผลิตเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC EV Charger) สามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า จาก 0% – 80% ได้ในเวลาประมาณ 40-60 นาที

ประเภทหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Quick Charger

DC Quick Charger ประเภทหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Quick Charger
  1. หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ CHAdeMO ย่อมาจากคำว่า Charge de Move แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า ชาร์จไฟแล้วขับต่อไป เป็นชื่อระบบชาร์จไฟฟ้าแบบเร็วสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งระบบ CHAdeMO มีการใช้แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น
  2. หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ GB/T โดยประเทศจีนได้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ ตอบรับการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่ารวดเร็วในประเทศ
  3. หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ CCS ย่อมาจาก Combined Charging System ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ประเภท คือ
    • CCS TYPE 1 เป็นหัวชาร์จที่ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศสหรัฐอเมริกา ลักษณะของหัวชาร์จมีขนาดเล็กกว่า CCS Type 2 และรองรับแรงดันไฟฟ้าที่ 200 V – 500 V
    • CCS TYPE 2 เป็นหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่นิยมใช้ในแถบทวีปยุโรป หัวชาร์จประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่กว่า และมีกำลังไฟมากกว่าหัวชาร์จ CCS Type 1 ด้วย

รถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายในประเทศไทย โดยส่วนมากหัวชาร์จ DC Charging จะเป็นแบบ CCS Type2 เนื่องจากเป็นมาตรฐานที่หน่วยงานรัฐในไทยได้กำหนดไว้

ในอนาคตการชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้า จะสะดวกสบายมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั้ง ระบบ AC Charger และ DC Charger ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและผู้ที่สนใจการใช้งานยานพาหนะไฟฟ้าที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ผู้ประกอบการ หลากหลายได้เล็งเห็นความสำคัญ และได้ลงทุนก่อสร้างสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าตามจุดต่างๆเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าได้สะดวกรวดเร็วขึ้น

มาตรฐานการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายในบ้าน

สำหรับคนที่จะติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบ้าน เราต้องทำความเข้าใจระบบไฟฟ้าภายในบ้านของเราเองก่อน มิเช่นนั้นระบบไฟฟ้าภายในบ้านอาจจะมีปัญหาได้ ซึ่งจะมี 5 ขั้นตอนการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้มาตรฐานการติดตั้ง EV Charger มีดังนี้

1. ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า : สำรวจมิเตอร์ไฟฟ้าบ้าน โดยปกติขนาดมิเตอร์ของบ้านพักอาศัยทั่วไปจะใช้เป็น 15(45) 1 เฟส(1P) หมายถึงมิเตอร์ขนาด 15 แอมป์(A) และสามารถใช้ไฟได้มากถึง 45(A) สำหรับคนที่ต้องการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบ้าน ให้เปลี่ยนขนาดมิเตอร์จากการไฟฟ้าให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 30(100) เพื่อป้องกันการใช้ไฟฟ้าที่มากเกินไป (สำหรับคนที่คิดว่าต้องเปลี่ยนระบบไฟเป็น 3 เฟสรึเปล่า? คำตอบคือ “ไม่จำเป็น” เนื่องจากถ้าบ้านไม่มีการใช้งานไฟฟ้ามากเกินไป การใช้ไฟ 1 เฟสก็เพียงพอแล้วแล้วสำหรับการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
2. เปลี่ยนสายเมน และลูกเซอร์กิต (MCB) : สำหรับสายเมนของเดิมใช้ขนาด 16 ตร.มม. ต้องปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 25 ตร.มม. และเปลี่ยนลูกเซอร์กิต(MCB) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้ MDB ที่ของเดิมรองรับไฟได้สูงสุด 45(A) ให้เปลี่ยนเป็น 100(A) คือ ขนาดมิเตอร์ ขนาดสายเมน และขนาดลูกเซอร์กิต (MCB) ต้องเข้ากันได้
3. ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) : ตรวจสอบภายในตู้ว่ามีช่องว่างสำรองเหลือให้ติดตั้ง Circuit Breaker อีก 1 ช่องรึเปล่า? เพราะการติดตั้งเครื่องชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องแยกใช้งานกับเครื่องไฟฟ้าอื่นๆ หรือถ้าหากภายในตู้หลักไม่มีช่องว่าง ยังไงเราก็ต้องเพิ่มตู้ควบคุมย่อยอีก 1 จุด
4. เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) : เป็นเครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดวงจรไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าออกมีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งอาจจะส่งผลให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้ และเกิดเพลิงไหม้ได้ในอนาคต กรณีที่สายชาร์จไฟฟ้ามีระบบตัดไฟภายในตัวอยู่แล้ว เราก็ไม่ต้องติดตั้งเพิ่มเติมก็ได้
5. เต้ารับ (EV Socket) : สำหรับการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นชนิด 3 รู (มีสายต่อหลักดิน) ต้องทนกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16(A) *แต่รูปทรงอาจจะปรับตามรูปแบบปลั๊กของรถยนต์แต่ละรุ่นและยี่ห้อของรถยนต์ไฟฟ้านั้นๆ

เครื่องชาร์จหรือตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร? พร้อมความรู้เรื่องมาตรฐานระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

ระยะเวลาในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

ข้อมูลพื้นฐานในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านหรือที่สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไปจากตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็ม 100% อาจใช้เวลาตั้งแต่ 30 นาทีหรืออาจใช้เวลานานถึงครึ่งวันก็ได้ ระยะเวลาในการชาร์จขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่และกำลังไฟฟ้าของเครื่องชาร์จหรือจุดจ่ายไฟโดยตรง

ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

ระบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีผลต่อความเร็วในการชาร์จอย่างมาก โดยมีปัจจัยหลักที่มีผลดังนี้

  1. ระบบการชาร์จ : การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยใช้เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า DC Charger จะชาร์จได้เร็วกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า AC Charger ที่ชาร์จได้ช้ากว่า สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเป็นตัวอย่างของระบบการชาร์จที่ใช้ DC Charger ให้การชาร์จเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่า
  2. ขนาดหรือความจุของแบตเตอรี่ : ขนาดของแบตเตอรี่มีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จ แบตเตอรี่ขนาดใหญ่จะใช้เวลาในการชาร์จจนเต็มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับแบตเตอรี่ขนาดเล็ก ซึ่งจะชาร์จได้เร็วกว่าและใช้เวลาน้อยกว่า
  3. สถานะของแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้า : สถานะของแบตเตอรี่ในระดับใกล้จะหมด (เทียบกับแบตเตอรี่เต็ม) มีผลต่อเวลาในการชาร์จ เมื่อการชาร์จจากปริมาณเปอร์เซ็นต์แบตเตอรี่ต่ำ จะใช้เวลามากกว่าครึ่งหนึ่งของสถานะแบตเตอรี่ที่เหลือ
  4. กำลังไฟสูงสุดที่รถยนต์ไฟฟ้ารองรับได้ : ความเร็วในการชาร์จไฟ จะขึ้นอยู่กับกำลังไฟสูงสุดที่รถยนต์ไฟฟ้าแต่ละยี่ห้อและรุ่นรองรับได้  ถึงแม้ว่าจะชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่จุดจ่ายไฟที่ให้กำลังไฟสูงกว่าเดิมก็ตาม อาจไม่ช่วยให้ระยะเวลาการชาร์จสั้นลงได้
  5. ค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหรือจุดจ่ายไฟ : ระยะเวลาในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าบางครั้ง ก็ขึ้นอยู่กับค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหรือจุดจ่ายไฟ ดังนั้น การชาร์จไฟกับจุดจ่ายไฟที่เครื่องชาร์จที่มีกำลังไฟต่ำกว่ารถยนต์ไฟฟ้า ก็อาจใช้ระยะเวลาในการชาร์จนานและมากขึ้นกว่าเดิม
  6. สภาวะอากาศ : ระยะเวลาในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะใช้เวลามากขึ้น เมื่ออุณหภูมิภายนอกสูงขึ้น โดยเฉพาะการชาร์จแบบเร็ว รวมถึงความสามารถในการชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าและระยะทางในการชาร์จ 1 ครั้ง ก็จะลดลงด้วยเช่นกัน

ติดต่อเรา

บทความที่น่าสนใจ

BYD M6_Night_Small (Web H)
(สูงสุด 240,000 บาท เมื่อซื้อ BYD SEAL คันใหม่) แคมเปญส่งเสริมการขาย BYD ฉลองครบรอบ 30 ปี สำหรับ BYD SEAL ทั้ง 3 รุ่นย่อ...
BYD M6_Night_Small (Web H)
BYD M6 รถยนต์ไฟฟ้า 100% MPV ตัวใหม่ล่าสุดของ BYD ที่ตอบโจทย์ครอบครัวใหญ่ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะห้องโดยสารที่กว้างขวาง ที...
BYD M6_Night_Small (Web H)
New BYD Dolphin รถยนต์ไฟฟ้าจาก BYD ที่มีอีกชื่อหนึ่งว่าเป็นน้องโลมา ถูกออกแบบมาเหมาะสำหรับใช้งานในเมือง  ที่มีความโ...
BYD M6_Night_Small (Web H)
New BYD ATTO 3 MY2024 เป็นรุ่นเปิดตัวใหม่ปี 2024 ที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มความหลากหลายและตอบสนองความต้องการของผู้ใช...
BYD M6_Night_Small (Web H)
BYD SEALION 6 DM-i เป็นรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) รุ่นแรกของ BYD ในประเทศไทย เป็นการทำงานผสานระหว่างเครื่องยนต์เบนซินแล...
DENZA D9 ภาพปก (Web H)
รถตู้ไฟฟ้า 100% สุดหรู 7 ที่นั่งประตูสไลด์ เปิดตัวในไทย 1 พฤศจิกายนนี้ มีการออกแบบที่เน้นความหรูหรา โดดเด่นด้วยกระจังหน้...
กำลังเพิ่มข้อมูล